วันพฤหัสบดีที่ 28 มีนาคม พ.ศ. 2562

ส่งบทคัดย่อวิทยานิพนธ์ ภาษาไทย 5 เรื่อง



เรื่องที่ 3
บทบาทผู้บริหารโรงเรียนในการส่งเสริมการสอนของครูตามความคิดเห็นของครูโรงเรียนมัธยมศึกษาสังกัดกรมสามัญศึกษา 
จังหวัดกาญจนบุรี

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาบทบาทผู้บริหารโรงเรียนในการส่งเสริมการสอน ของครู เปรียบเทียบบทบาทผู้บริหารโรงเรียนในการส่งเสริมการสอนของครูจำแนกตามขนาดของ โรงเรียน ศึกษาปัญหาและแนวทางแก้ไขปัญหาการสอนของครูผู้สอนจากผู้บริหารโรงเรียน ตามความ คิดเห็นของครูโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดกรมสามัญศึกษา จังหวัดกาญจนบุรี กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้จากการสุ่มอย่างง่ายครูผู้สอนในโรงเรียนมัธยมศึกษา 30 โรง จำนวน 266 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล เป็นแบบสอบถามแบบตรวจสอบรายการ (check list ) และคำถามปลายเปิด สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ความถี่ ค่าร้อยละ ค่ามัธยฐาน และค่าไคสแควร์ ผลการวิจัยในเรื่องบทบาทผู้บริหารโรงเรียนในการส่งเสริมการสอนของครู พบว่า ด้านการปฏิบัติหน้าที่ด้านการเรียนการสอน ผู้บริหารส่งเสริมมากที่สุด คือ การอนุญาตให้ครูพานักเรียนศึกษาดูงานในแหล่งเรียนรู้ต่าง ๆ ในท้องถิ่น ส่งเสริมน้อยที่สุด คือ ผู้บริหารเยี่ยมชั้นเรียนที่นักเรียนมีปัญหาในการเรียน ด้านการพัฒนาคุณภาพของครู ผู้บริหารส่งเสริมมากที่สุด คือ การส่งครูเข้ารับการอบรม / ศึกษาต่อ ส่งเสริมน้อยที่สุด คือ ส่งเสริมการสอนเป็นทีม ด้านการส่งเสริมให้ครูมีความก้าวหน้าในวิชาชีพ ผู้บริหารส่งเสริมมากที่สุด คือ ให้ครูตระหนักในหน้าที่ความเป็นครู ส่งเสริมน้อยที่สุด คือ ฆ ให้ครูคำนึงถึงขั้นเงินเดือนพิเศษที่จะได้รับ และด้านการยกย่องเชิดชูครูผู้มีผลงานดีเด่น ผู้บริหารส่งเสริมมากที่สุด คือ มอบเกียรติบัตร/รางวัล แก่ครูผู้มีผลงานดีเด่นในที่ประชุมครู ส่งเสริมน้อยที่สุด คือ จัดสันทนาการเพื่อเป็นเกียรติแก่ครูผู้มีผลงานดีเด่น จากการศึกษาเปรียบเทียบบทบาทผู้บริหาร โรงเรียนในการส่งเสริมครู ผลการวิจัยพบว่า บทบาทผู้บริหารโรงเรียนในการส่งเสริมการสอนของครูในโรงเรียนที่มีขนาดแตกต่างกันมีความแตกต่างกัน ปัญหาที่พบมากที่สุดและแนวทางแก้ไขปัญหาการสอนของครูในแต่ละด้านจากผู้บริหาร โรงเรียนตามความคิดเห็นของครูมีดังนี้ คือ ด้านการปฏิบัติหน้าที่ด้านการเรียนการสอน ที่เป็นปัญหามากที่สุด คือ ครูได้รับมอบหมายให้ปฏิบัติหน้าที่นอกเหนือจากการสอนมากทำให้ไม่มีเวลาในการจัดการเรียนการสอนแบบหลากหลาย ควรแก้ไขปัญหาโดยผู้บริหารไม่ควรให้ความสำคัญกับงานพิเศษมากกว่าด้านการเรียนการสอน เพราะทำให้ครูมุ่งทำงานพิเศษเพื่อมุ่งหวังความดีความชอบไม่มีเวลาดูแลเอาใจใส่นักเรียน ด้านการพัฒนาคุณภาพของครูผู้สอน ที่เป็นปัญหามากที่สุด คือโรงเรียนไม่สามารถจัดหางบประมาณสนับสนุนครูได้อย่างพอเพียง ควรแก้ไขโดยผู้บริหารจัดสรรงบประมาณสำหรับการศึกษา อบรม ดูงาน ให้เพียงพอ ด้านการส่งเสริมให้ครูมีความก้าวหน้าในวิชาชีพ ที่เป็นปัญหามากที่สุด คือ ครูขาดแรงจูงใจในการพัฒนาตนเองให้ก้าวหน้า ควรแก้ไขโดยผู้บริหารต้องกระตุ้นครู โดยการจูงใจให้ครูพัฒนาตนเองอยู่เสมอ และด้านการยกย่องเชิดชูครูผู้มีผลงานดีเด่น ที่เป็นปัญหามากที่สุด คือ ไม่มีหลักเกณฑ์ที่แน่นอนในการยกย่องเชิดชูครูผู้มีผลงานดีเด่น ควรแก้ไขโดยกำหนดหลักเกณฑ์ที่แน่นอนในการทำผลงานครูดีเด่น


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น